วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551

บทที่ 3 กระบวนการสื่อสาร


.....การสื่อสา


.......... หมาย ถึง กระบวนการติดต่อส่งข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความเห็นตลอดจนท่าทีความรู้สึกต่างๆระหว่างบุคคล เจตคติ ทักษะจากผู้ส่งไปยังผู้รับด้วยการใช้ถ้อยคำ กริยา ท่าทาง หรือสัญลักษณ์ ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน

องค์ประกอบและกระบวนการสื่อสาร
.....1. ผู้ส่ง แหล่งกำเนิดเนื้อหาสาระ ซึ่งอาจเป็นองค์กร บุคคลที่มีจุดมุ่งหมายจะส่งเนื้อหาสาระไปยังผู้รับ
.....2. เนื้อหาสาระ เนื้อหาสาระ เจตคติ ทักษะประสบการณ์ ซึ่งจะส่งผ่านสื่อไปยังผู้รับ
.....3. สื่อหรือช่องทาง ช่องทางต่างๆ ที่ใช้ในการส่งและรับรู้เนื้อหาสาระ ได้แก่ ตา หู ลิ้น จมูก และผิวกาย โดยอาศัยสื่อที่เหมาะสมกับช่องทาง เช่น รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
.....4. ผู้รับ บุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่รับรู้เนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิดหรือผู้ส่ง

หน้าที่ของกระบวนการสื่อสาร
.....1.การสื่อสารในฐานะเครื่องมือให้ได้สิ่งที่ต้องการ
.....2. .การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์
.....3. .การสื่อสารส่วนบุคคล
.....4. .การสื่อสารเพื่อเสาะแสวงหาคำตอบ
.....6. .การสื่อส ารเพื่อสร้างจินตนาการ

รูปแบบของก
ารสื่อสาร

.....1. การจำแนกตามคุณลักษณะของการสื่อสาร
.....1.1 การสื่ อส ารด้วยภาษาพูด ได้แก่ การพูด อธิบาย บรรยาย การร้องเพลง เป็นต้น
.....1.2 การสื่ อสารด้วยภาษาท่าทางหรือสัญญาณ เช่น กริยาท่าทาง การยิ้ม ภาษามือ เป็นต้น
.....1.3 การสื่อสารด้วยภาษาภาพ เช่นโปสเตอร์ จดหมาย ลูกศร ตรา รูปภาพ เครื่องหมาย

2. จำแนกตามปฏิสัมพันธ์ของผู้รับและผู้ส่ง
.....2.1 การสื่อสารทางตรง ผู้ส่งและผู้รับสื่อสารซึ่งกันและกันโดยตรง เนื้อหาสาระสอดคล้องกันอย่างตรงไปตรงมา เช่ น การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าในตลาดสด
.....2.2 การสื่อสารทางอ้อม เป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อในการถ่ายทอดเนื้อหาสา

ระ เช่น การโฆ ษณาทางโปสเตอร์

3. จำแนกตามพฤติกรรมในการโต้ตอบ
.....3.1 การสื่อสารทางเดียว ผู้ส่งกระทำฝ่ายเดียว ผู้รับไม่สามารถตอบสนองทันทีได้ เช่น การจัดรายการวิทยุ รายการโทรทัศน์
.....3.2 การสื่อสารสองทาง ผู้ส่งและผู้รับมีการตอบโต้กันโดยอาจอยู่ในสถานที่เดียวกัน หรือถ้าห่างกันจะใช้เครื่องมือสื่อสารช่วยได้ เช่นโทรศัพท์ วิทยุมือถือ

4. จำแนกตามจำนวนของผู้ร่วมสื่อสาร

.....4.1 การสื่อสารในตนเอง เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับ เช่น การสำรวจความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง
.....4.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อสารระหว่างสองคน เช่นการสนทนา การสัมภาษณ์
.....4.3 การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคล เป็นการสื่อสารที่มีจำนวนผู้ส่งผู้ส่งและผู้รับมากกว่าการสื่อสารระหว่าง บุคคล เช่น การเรียนการสอนในห้องเรียน กลุ่มตำรวจช่วยกันสอบสวนผู้ต้องหา
.....4.4 การสื่อสารมวลชน การสื่อสารเป็นกลุ่ม จำนวนมากมหาศาล ต้องใช้สื่อที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายข่าวสารได้อย่างกว้างไกล เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต โปสเตอร์


อุปสรรคในการสื่อสาร

.....1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถและความตั้งใจในการเข้ารหัส ทำให้การสื่อสารผิดพลาด
.....2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง การเลือกสื่อที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ ทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารลดลง
.....3. ผู้รับสารขาดความรู้ความชำนาญในเนื้อหาสาระ
.....4. อุปสรรคจากสิ่งรบกวน
- สิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงที่ดังรบกวน อากาศร้อน แสงแดด กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
- สิ่งรบกวนภายใน เช่น อารมณ์ขุ่นมัว ความเครียด ความวิตกกังวล การมีอคติทั้งผู้ส่งและผู้รับ
.....5. สารหรือเนื้อหาสาระมีความยาวไม่เหมาะสมหรือสั้นเกินไป เนื้อหาขัดกับความเชื่อเดิม
.....6. ผู้ส่งและผู้รับมีความแตกต่างในด้านภาษา วัฒนธรรมและสังคม

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

..... การ สื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูง เกิดจากการสื่อสารโดยตรงแบบเผชิญหน้า เป็นการสื่อสารแบบสองทาง ผู้ส่งและผู้รับสามารถโต้ตอบกันได้ทันทีทันใด เนื้อหาสาระต้องเหมาะสมกับผู้รับ

การสื่อสารกับการรับรู้และเรียนรู้
..... การรับรู้ เป็น กระบวนการตีความหรือแปลความต่อสิ่งเร้าที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย จากนั้นส่งไปยังสมอง สมองเป็นคลังข้อมูลขนาดมหาศาล เมื่อสมองตีความได้ก็จะนำข้อมูลไปเก็บในคลังสมอง ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติ กรรมเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร เรียกว่า การเรียนรู้

แบบจำลองของการสื่อสาร

.....1. แบบจำลองของลาสเวลล์
.....- ใคร
.....- พูดอะไร
.....- โดยช่องทางใด
.....- ไปยังใคร
.....- ได้ผลอย่างไร

.....2. แบบจำลองของแชนนอนและวีเวอร์
.....- แหล่งข้อมูล
.....- ตัวถ่ายทอด
.....- ช่องทาง
.....- ผู้รับ
.....- จุดหมายปลายทาง
.....- สิ่งรบกวน



3. แบบจำลองของเบอร์โล

.....- เนื้อหาสาระ
.....- ผู้ส่ง/แหล่งกำเนิด เข้ารหัส ถอดรหัส
.....- สื่อ/ช่องทาง
.....- ผู้รับ
.....- การมองเห็น
.....- การได้ยิน
.....- การสัมผัส
.....- การดมกลิ่น
.....- การชิมรส
.....- ทักษะ
.....- เจตคติ
.....- ความรู้
.....- สังคม/วัฒนธรรม
.....- องค์ประกอบ โครงสร้าง
.....- วิธีควบคุม
.....- เนื้อหา รหัส
.....- ทักษะ
.....- เจตคติ
.....- ความรู้
.....- สังคม/วัฒนธรรม

4. แบบจำลองการสื่อสารของบาร์นลันด์
.....4.1 แบบจำลองภายในบุคคล สื่อสารกับตัวเอง ประกอบด้วยบุคคล ตัวชี้นำหรือสิ่งเร้านอกตน ตัวชี้นำหรือสิ่งเร้าในตน การใส่รหัสและการถอดรหัส
สิ่งเร้านอกตน และสิ่งเร้าในตน อาจมีผลทางบวกและทางลบหรือกลางๆ ต่อบุคคลที่สื่อสารภายในตน
.....4.2 แบบจำลองการสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นแบบจำลองที่บุคคลสื่อสารระหว่างกัน มีองค์ประกอบเหมือนกับการสื่อสารภายในตน แต่มีบุคคลที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้อง

การสื่อสารในการเรียนการสอน

.....1. กระบวนการสื่อสารในการเรียนการสอน
.....- ครู
.....- เนื้อหาบทเรียน
.....- ช่องทาง
.....- ผู้รับ
.....- สิ่งรบกวน
.....2. ลักษณะการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน
..... เป็น การสื่อสารเพื่อให้เกิดความรู้ คือ เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ตลอดจนการอบรมสั่งสอน อาจเป็นการสื่อสารแบบทางเดียวหรือสองทิศทางก็ได้ ควรมีการเน้นหรือทบทวนคำสั่งหรือข้อตกลง เพื่อให้เกิดความจำและความเข้าใจที่ถูกต้อง การสื่อสารควรมีลักษณะสร้างแรงบันดาลใจ เป็นกันเอง แสดงถึงความเอื้ออาทร และมีเจตคติที่ดีต่อกัน
.....3. การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
ครู ที่มีการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความหมาย มีชีวิตชีวา มีเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและบทเรียน เรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ
ครู ผู้สอนควรใช้สื่อการสอนสองทางให้มากที่สุด เพื่อประเมินว่าการถ่ายทอดเนื้อหาสาระไปสู่ผู้เรียนได้ผลอย่างไร ครูและผู้เรียนสามารถปรับกระบวนการสื่อสารให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
.....4. ความล้มเหลวของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอน
.....- ครูไม่บอกจุดประสงค์ในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้เนื้อหาบทเรียน นั้นๆ
.....- ครูไม่คำนึงถึงข้อจำกัดหรือขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงใช้วิธีสอนแบบเดียวกัน ทำให้ผู้เรียนบางคนเรียนรู้ไม่ทันเพื่อน
.....- ครูไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมี ความหมายสำหรับผู้เรียน ไม่สร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน
.....-ไม่หาวิธีป้องกันและขจัดปัญหาสิ่งรบกวนต่างๆ
.....-ครูบางคนอาจใช้ภาษาไม่เหมาะกับระดับหรือวัยของผู้เรียน