วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551
อุปสรรคในการสื่อสาร
.....1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถและความตั้งใจในการเข้ารหัส ทำให้การสื่อสารผิดพลาด
.....2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง การเลือกสื่อที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ ทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารลดลง
.....3. ผู้รับสารขาดความรู้ความชำนาญในเนื้อหาสาระ
.....4. อุปสรรคจากสิ่งรบกวน
- สิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงที่ดังรบกวน อากาศร้อน แสงแดด กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
- สิ่งรบกวนภายใน เช่น อารมณ์ขุ่นมัว ความเครียด ความวิตกกังวล การมีอคติทั้งผู้ส่งและผู้รับ
.....5. สารหรือเนื้อหาสาระมีความยาวไม่เหมาะสมหรือสั้นเกินไป เนื้อหาขัดกับความเชื่อเดิม
.....6. ผู้ส่งและผู้รับมีความแตกต่างในด้านภาษา วัฒนธรรมและสังคม
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
..... การ สื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูง เกิดจากการสื่อสารโดยตรงแบบเผชิญหน้า เป็นการสื่อสารแบบสองทาง ผู้ส่งและผู้รับสามารถโต้ตอบกันได้ทันทีทันใด เนื้อหาสาระต้องเหมาะสมกับผู้รับ
การสื่อสารกับการรับรู้และเรียนรู้
..... การรับรู้ เป็น กระบวนการตีความหรือแปลความต่อสิ่งเร้าที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย จากนั้นส่งไปยังสมอง สมองเป็นคลังข้อมูลขนาดมหาศาล เมื่อสมองตีความได้ก็จะนำข้อมูลไปเก็บในคลังสมอง ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติ กรรมเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร เรียกว่า การเรียนรู้
แบบจำลองของการสื่อสาร
.....1. แบบจำลองของลาสเวลล์
.....- ใคร
.....- พูดอะไร
.....- โดยช่องทางใด
.....- ไปยังใคร
.....- ได้ผลอย่างไร
.....2. แบบจำลองของแชนนอนและวีเวอร์
.....- แหล่งข้อมูล
.....- ตัวถ่ายทอด
.....- ช่องทาง
.....- ผู้รับ
.....- จุดหมายปลายทาง
.....- สิ่งรบกวน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น